ตอบ คนที่ 3
ปรัชญาในการสร้างทางด่วน คือ ทางที่สามารถระบายรถออกไปจากเมืองหรือเข้าเมืองให้ได้เร็วที่สุด เพื่อลดปริมาณรถบนท้องถนนให้ผู้ขับขี่ถึงบ้านหรือที่ทำงานให้เร็วที่สุด รัฐบาลควรจะสร้างทางด่วนด้วยเงินที่เก็บมาจากภาษีผู้ใช้รถยนตร์เพิ่มขึ้น การหาราคาที่จะต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากภาษีป้ายทะเบียนประจำปีควรมาจาก
เช่น (ไม่รู้ว่าสถิติการใช้ทางด่วนจริงๆ เป็นอย่างไร) สมมุติถ้าใน 1 ปี บริษัททางด่วน เก็บรายได้ได้ 3 พันล้านบาทต่อปี และสมมุติว่า ใน กทม. มีลงรถที่จดทะเบียนแล้ว 2 ล้านคัน เท่ากับ 3 พันล้านบาท หารด้วย 2 ล้านคัน เป็นเงิน 1500 บาทต่อปี เพราะฉะนั้นเงินที่ผู้ครอบครองรถใน กทม. จะต้องเสียภาษีเพิ่มต่อคันต่อปี คือ 1500 บาท
ผมเสียภาษี 1250 บาท ต่อปี และถ้าต้องเสียเพิ่มอีก 1500 บาท ต่อปี รวมเป็น 2750 บาท แต่สามารถขึ้นทางด่วนได้อย่างอิสระ ผมคิดว่าผมยอม แต่อาจมีคนแย้งว่า บางคนอาจไม่เคยขึ้นทางด่วนเลย และไม่อยากเสีบเงินเพิ่ม (ผมเองก็ไม่ได้ใช้ทางด่วนไป กลับ ที่ทำงาน) แต่ผมว่าคนใน กทม คงต้องยอมเสีย เพื่อให้ประเทศมีเงินมาสร้างทางด่วนและอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ให้มากที่สุด เพื่อสร้างความสัมพันธ์และให้การขับเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด
ผมเชื่อว่าถ้าเรามีระบบทางด่วนที่ดี มีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันได้ และไม่ต้องเสียค่าทางด่วนแบบจุกจิก จะทำให้ผู้ขับขี่มีอิสระในการพลิกแพลงหรือเลือกใช้เส้นทางได้ โดยไม่ต้องห่วงว่าจะเสียเงินเพิ่ม และจะทำให้เราประหยัดพลังงานโดยรวมได้อีกเยอะมาก และเงินที่จะนำมาพัฒนานั้นควรมาจาก ผู้ครอบครองรถในกทม. ซึ่งอาจจะทำให้จำนวนรถลดลงได้ และคนจะใช้รถเท่าที่จำเป็น เช่นแทนที่จะมี 4 คัน อาจจะเหลือแค่ 1-2 คัน
บางทีถ้าเราช่วยๆ กันเสียสละให้มากขึ้นก็ดีนะครับ เราอาจจะมีชีวิตในการขับขี่ที่ดีกว่านี้
อย่าปล่อยให้โลกร้อนไปกว่านี้ โดยคุณ : pg405gr auto
[ 13 ต.ค. 2005 , 10:18:56 น.]
|