ปัจจัยน้ำกลั่นนั่นดูได้
ส่วนเรื่องใดชาร์ทตรงรุ่น (70 แอมป์) ถือว่าเหมาะสมเปล่า
over charge ดูอย่างไร
กลัวเวลาอายุสั้นร้านแบตมักจะบอกกว่าปกติก็แค่นี้ หรือไม่ก็อ้างเหตุที่ตรวจไม่ได้ เช่น ติดเครื่องเสียง,ไดร์,ระบบไฟ ว่าไม่ดี
ไดชาร์ทขนาดนั้นก็ใหญ่พอสำหรับใช้งานในรถได้เต็มที่ แบบเผื่อไว้แล้ว
ส่วนจะดีแค่ไหนต้องหมั่นวัดโวลต์ที่ตอนติดเครื่องยนต์ตรงไฟเข้าแบตให้ปกติ 13.5 ถึง <14.5 โวลต์นะ
หากโวลต์เกินหรือเกิดการ Over Charge สังเกตง่ายสุดแบตจะเดือดและร้อน ดังนั้น น้ำกรดในแบตจะแห้งไว หรืออาจมีการไหลทะลักออกจากแบตตรงท่อหายใจ ครับ
เราควรให้มีการชาร์ทแบตให้เต็มเสมอหรือแวะร้านแบตให้เขาวัด ค่าโวลต์ ความต้านทานแบต CCA และ แบต condition บันทึกไว้ประจำ จะทำให้ทราบแนวโน้มสุขภาพแบตได้เองล่วงหน้า (ผมใช้ตัวเหลืองๆข้างบน)
ท้ายนี้แถมท้ายอีกสองเรื่อง
คือความร้อนของแบตตอนทำงาน หรือความร้อนในห้องเครื่อง อย่างไหนน่าจะมีผลต่อการระเหยของน้ำกลั่นในแบตมากกว่ากันครับ
ข้างบนเป็นคำถามจากในคลับ Nissan march
อุณหภูมิกับอายุการใช้งาน อุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งานอยู่ที่ 25 องศาC (77 ฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 8 องศาC (15 ฟาเรนไฮต์) จะทำให้อายุการใช้งานของแบตฯลดลงครึ่งหนึ่ง เช่น แบตเตอรี่ แบบ VRLA จะมีอายุถึง 10 ปีที่อุณหภูมิ 25 องศา Cแต่จะลดลงเหลือ 5 ปี ที่อุณหภูมิ 33 องศาC (95 ฟาเรนไฮต์) และอายุเหลือไม่ถึง 1 ปีที่อุณหภูมิ 42 องศาC (107 ฟาเรนไฮต์) นอกจากนี้มันยังทำงานได้ไม่ดีในที่อุณหภูมิต่ำอีกด้วยอุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะทำให้แบตฯ เก็บประจุได้น้อยลง ความจุของ แบตเตอรี่ จะลดลง 50 % ทุกๆ อุณหภูมิที่ต่ำลง 12 องศาC (22 ฟาเรนไฮต์) ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมในตอนเช้าที่อากาศเย็นเราถึงสตาร์ทรถติดได้ยากแต่การใช้งานที่อุณหภูมิต่ำก็จะทำให้อายุการใช้งานของมันยาวนานมากขึ้นด้วยเช่นกัน
อุณหภูมิห้องเครื่องอ่านถึงตรงนี้เมื่อนึกถึงในห้องเครื่อง ต้องพูดถึงอุณหภูมิอากาศนะ ไม่ใช่โลหะห้องเครื่องหรืออุณหภูมิท่อเฮดเดอร์
ประมาณการว่าเครื่องยนต์มีประมาณ 100 เซลเซียส เฮดเดอร์ มากกว่านั้น แต่อากาศในห้องเครื่องก็มีอุณหภูมิเปลี่ยนไป
-ยามรถวิ่งผ่านอากาศ เช้า กลางวัน เย็น หรือกลางคืน เชื่อไหม ยากมากที่จะสูงเกินกว่าอุณหภูมิอากาศรอบข้างเกิน 5-10 องศา
-แต่จะร้อนยิ่งขึ้นยามใช้รถติดที่มีการจราจรคับคั่ง (รถไม่เคลื่อนตัว) และร้ายกว่านั้นเมื่อพัดลมไม่ดี เครื่องฮีท เหล่านี้ทำให้อุณหภูมิ ห้องเครื่องสูงไปด้วย
-ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานจะมีอุปกรณ์หนึ่งทำหน้าที่ปล่อยกระแสไฟ ส่วนหนึ่งมาที่แบตเตอรี่ ตรงนี้ก็อีกหากขนาดแบตกะไดชาร์ทไม่ใหญ่มาก มีกำลังไฟเหลือมาที่แบต สัก 5-10 แอมป์ ก็ไม่ทำให้แบตร้อนขึ้นเท่าไหร่ แต่บางคนไปขยายไดชาร์ท กะว่าเหลือดีกว่าขาดก็
ทำให้เกิดการชาร์ทไว และชาร์ทเกินบ่อยๆ ตรงนี้แหละที่แบตโดยเฉพาะน้ำกรดในแบต จะร้อนขึ้นอีกโขโดยไม่จำเป็นจากที่โปรยข้างบน
ผมให้คะแนนอุณหภูมิห้องเครื่อง เป็นลำดับแรกที่มีผลต่ออายุใช้งานแบตแต่ถ้า
มีผลต่อการสูญเสียน้ำกลั่นโดยการระเหย ผมให้คะแนนความไม่พอดี-สมดุลย์ของระบบกำลังไฟในรถมากกว่า เพราะเดี๋ยวก็ดึงไฟจากแบตไปใช้โน่นนี่ เดี๋ยวก็ชาร์ท และชาร์ท ตลอด ตอนนี้แบตก็ร้อนก็อุ่น แถมมีพรายฟองแก๊ส ไฮโดรเจนด้วยตอนไฟชาร์ท จะพาละอองน้ำให้ระเหยไปพร้อมๆกัน
สรุปสำหรับสังเกตก็แล้วกันนะ หากแบตเราน้ำกลั่นแห้งไว มันก็ฟ้องแล้วว่ารถเราใช้ไฟมากเกินและไดชาร์ทเล็กไปหรือไม่
เราต้องมาคิดแล้วว่าไดชาร์ทแอมป์น้อยไป แต่อย่าให้สูงเกินไปมากๆ ไม่งั้นแบตเต็มแล้วก็ไฟเหลือๆยังจะชาร์ทแรงๆอีก และไม่มีตัวตัดก็เกิดการ โอเวอร์ชาร์ท ไปหาช่างมาได้แล้ว ก่อนที่แบตจะลาโลกไว
แค่นี้ก่อนนะ ว่างๆจะมาปรุงแต่งเติมต่อ ให้เข้าใจง่ายขึ้นกระชับขึ้น ถึงตรงนี้หากขับมาไกลๆและจอดที่มั่นใจว่าไม่มีโจรขโมย ผมจอดปั๊บ ดับเครื่อง ยกฝากระโปรงโชว์ห้องเครื่องทันที
เมื่อต้นเดือนนี้ ได้ MSN กะสมาชิก ท่านถามถึงเรื่องแบตเตอรีรถยนต์ ไปยกรถดูข้อบกพร่อง ตัวรถบางประการ กลับพบว่าซุ้มล้อหน้าซ้ายโดยเฉพาะล้อแม็กลายพร้อย พบเหตุว่าเป็นเพราะน้ำกรดจากแบต ทะลักออกมาจากท่อหายใจ แบตเดือดครับ
ลักษณะแบตเดือดก็คือ เครื่องยนต์ทำงาน ไปสักพักหรือขับมาจอดแต่ยังไม่ดับเครื่อง ดูที่แบตเตอรี ที่ข้างๆมีหลอดใสๆ คือท่อหายใจแต่มีน้ำกรดคาอยู่หรือไหลทะลักล้นออกมา
เมื่อเปิดจุกทั้ง 6 เพื่อดูอาการน้ำกรดภายในฟองแก๊สพรั่งพราวออกมาปูดๆ ราวกับต้มน้ำ และแบตจะร้อนผิดปกติจากภายในแผ่นธาตุ เมื่อเอาโวลต์มิเตอร์วัดจะได้ค่าสูงกว่า 14.5 โวลต์ ครับบ้างก็ทะลุไป 15 หรือ 15.5 ขึ้นไป ก็ได้คำตอบเศร้าๆแล้วครับว่า เสียใจ
- อาการเริ่มต้น อาจจะ มีการลดลงของระดับน้ำกลั่นเร็วผิดปกติ เช่น ทุกอาทิตย์ต้องเติมน้ำกลั่น เดือนหนึ่งต้องมีหมดขวด
- อาการถัดมาก็มีค่าถพ ของน้ำกรดเจือจางลงเรื่อยๆ พร้อมกับมีการอ่อนลงของกำลังแบต ไม่ว่าจะขึ้นกระจกไฟฟ้า สตาร์ทยืด หรือ ไฟหน้าหรี่ๆ (ขณะที่เครื่องยนต์ยังไม่ทำงาน)
- แม้บางท่านจะเปลี่ยนแบตลูกใหม่ในกรณีแบตเสื่อมไปแล้ว แต่ใช้ไม่นาน พร้อมๆ กับการเสียหายแปลกๆ เช่นฟิวตัวนั้นนี้ขาดประจำ หลอดไฟขาดบ่อย ฯลฯ
ฟันธงครับว่า Generator (นักวิชาการทั่วไปเรียกสำหรับเครื่องแปลงกำลังงานกลจากการหมุน เป็นกระแสไฟฟ้า-หรือ เครื่องปั่นไฟฟ้า) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ไดชาร์ท เริ่มเสื่อมแล้ว
ที่ตัวควบคุมแรงเคลื่อน หรือ Voltage Regulator ที่ติดตั้งอยู่กับ ไดชาร์ท(คนไทยมักเรียกกัน) ตัวนี้เกี่ยวข้องกะแบตเตอรีก็ตรงที่นอกจากจ่ายไฟให้ระบบรถยนต์ทั้งคันแล้ว ยังทำหน้าที่ชาร์ท แบตรถยนต์ด้วย
ภายในตัว generator นี้จะมีวงจรแปลงกระแสไฟฟ้าสลับให้เป็น กระแสไฟตรงและมีช่วงแรงเคลื่อน(โวลต์)ที่กำหนด ตัวนี้อยู่ติดเป็นอุปกรณ์แนบกันกับ ไดชาร์ท ตัวแปลงและตัวควบคุมแรงเคลื่อน-แรงดันไฟฟ้า หรือ Voltage Regulatorนี่แหละเสียหาย ตัวนี้หากช่างไฟฟ้าทั่วๆไปจะเรียกว่า Diode ไดโอด ครับ (ตรงนี้แหละที่ร้านซ่อมไดชาร์ท อาจจะรับซ่อมให้ถ้า หมดประกันหรือซื้อใหม่แพงไป - หรือช่างไฟฟ้าที่บ้านหม้อก็จัดหาเปลี่ยนให้ได้)
ตัวไดโอดนี่แหละที่เป็นตัวปัญหาของรถหลายๆค่าย-รุ่น และก็เป็นตัวที่ทำให้ร้านขายไดชาร์ท(ที่ไม่มีจรรยาบรรณ)ตั้งตัวได้....................
หากไม่จัดการไดชาร์ทให้จ่ายไฟอย่างเหมาะสมนะ อีกไม่นานนอกจากแบตจะมีอายุสั้นแล้ว อื่นๆ ก็จะพังตามมาเป็นทิวแถว
สรุปการตรวจสอบ
1. อัตราการ Charge แรงเคลื่อนไฟฟ้าจาก Generator ว่าอยู่ในค่าปกติหรือไม่ ตรวจโดยใช้ เครื่องวัดโวลต์ โวลต์มิเตอร์หรือมัลติมิเตอร์ ขณะเครื่องยนต์ทำงาน
คือ ค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าอัตราการ Charge ไฟฟ้าเข้าหม้อ Battery ซึ่งค่าปกติการชาร์ทจะต้องอยู่ที่ประมาณ 14-14.5 V หากต่ำกว่านี้ หรือสูงกว่านี้ ผิดปกติที่ ไดชาร์ท
2. ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดใน Battery ว่าอยู่ในค่าปกติหรือไม่ วัดขณะที่แบตฯเย็น และมีระดับน้ำกรดในแบตปกติ สูงกว่าแผ่นธาตุประมาณ 1 ซม
คือ ค่า ถ.พ. ของ Battery อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน มาตรฐานคือ 1.25-1.30 หรือตามเครื่องวัดถพ ไม่แสดงที่แถบเหลืองและเขียว แต่แถบแสดงสภาพของ Battery อยู่ในแถบสีแดง ซึ่งหมายความว่า Battery ลูกนี้ได้เสื่อมสภาพไปแล้วนั่นเอง
สาเหตุที่ Battery เสื่อมสภาพก็เนื่องมาจากที่ Generator ได้ทำการ Charge ไฟฟ้าเข้า Battery เกินความต้องการ และไม่ทำการควบคุมแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้อยู่ตามค่ามาตรฐานนั่นเอง จึงทำให้ Battery มีพรายก๊าซไอโดรเจนขึ้นมากและเร็วเกินไป รวมทั้งมีความร้อนที่แผ่นธาตุมากเกินไป แผ่นธาตุภายในหม้อ Battery จึงเสื่อมสภาพ และเมื่อมันร้อนมากและมีฟองก๊าซ น้ำกลั่นและน้ำกรดภายในหม้อ Battery จึงขยายตัวและถูกดันออกมาทางช่องระบายน้ำกรด และก็ไหลลงสู่ด้านล่าง และในขณะที่รถวิ่งไปด้วยความเร็ว เจ้าน้ำกรดที่ไหลออกมานั้นก็กระเซ็นไปโดนชิ้นส่วนต่างๆ ใต้ท้องรถยนต์ ทำให้เกิดการกัดกร่อนชิ้นส่วนที่เป็นโลหะใต้ท้องรถยนต์เสียหายได้ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ และถ้าไม่ทำการแก้ไข Battery อาจจะเกิดระเบิดและจะยิ่งสร้างความเสียหายแก่ชิ้นส่วนที่อยู่ภายในห้องเครื่องอีกมากมาย