ทำไมน้องแบตบางรายไปก่อนทั้งๆที่อายุไม่ถึงปี บางท่านก็บอกว่าเนี่ย 2 ปีกว่าแล้ว บางท่านก็บอกตั้งแต่ออกรถมาจำไม่ได้กี่ปีแล้วยังไม่เคยเปลี่ยนแบต...........ว่าไปโน่น (Go So Far) ได้ยินมานานแล้ว จนต้องไปค้นคว้ามา ดังนี้
ใช้และเก็บอย่างถูกวิธี-แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดจะไม่มีการจำว่า ก่อนชาร์จ แบตเตอรี่ มีประจุเหลืออยู่เท่าไรหรือเมมอรี่เอฟเฟค (Memory Effect) ต่างจากแบตเตอรี่ แบบนิกเกิลแคดเมี่ยม
-ถ้า แบตเตอรี่ มีประจุเต็มอยู่แล้วการนำไปชาร์จโดยการให้กระแสต่ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ แบตเตอรี่ จะไม่เสียง่าย
-มันไม่ชอบการคายประจุที่ลึกมาก ๆ (ใช้จนหมดแบต)โดยเฉพาะการคายประจุจนหมด(ต่างกันกะแบตมือถือนิเกิลแคดเมียมที่ชอบคายหมดกินอิ่ม) ทุกครั้งที่เราดิสชาร์จมันลึกมาก ๆ จะทำให้ความสามารถในการเก็บประจุของมันลดลง ส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลง กรณีนี้ก็เกิดได้ที่รถยนต์เช่น
ไดชาร์จเริ่มเสื่อมจ่ายไฟมาแบตไม่พอและใช้มากเกิน หรือจอดรถดับเครื่องดูหนังฟังเพลงบ่อยๆ เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องใช้งานจน แบตเตอรี่ ประจุหมดบ่อย ๆ ควรป้องกันการคายประจุที่ลึกมากเกินไป โดยเลือกใช้ แบตเตอรี่ ที่มีขนาดใหญ่ ขึ้นความจุสูงขึ้น(แอมป์ชั่วโมงมากขึ้น) เพื่อไม่ให้ แบตเตอรี่ คายประจุลึกมากนัก
หรือไม่ก็หาเครื่องชาร์ตไฟแบตเล็กๆมาสักตัวแบบถูกๆหน่อย เบาๆกระเป๋า (เดี๋ยวเจอกันห้องซื้อขาย) เห็นไหมเริ่มเข้าประเด็นกระทู้แล้ว
อันนี้ใครตาลายง่ายๆ ก็ไม่ต้องอ่านก็ได้ ให้ไปดูรูปผลึกสีฟ้าข้างบนก็เข้าใจได้การทิ้ง แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดไว้เฉย ๆ เป็นเวลานาน แบตเตอรี่ จะคายประจุออกไปเรื่อย ๆ ด้วยตัวมันเอง (Self Discharge)
ถ้าไม่ชาร์จเพื่อเติมประจุให้กับ แบตเตอรี่ ผลึกของตะกั่วซัลเฟตที่เกิดขึ้นที่แผ่นธาตุลบจะรวมตัวกันแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้น
ผลึกที่มีขนาดใหญ่นี้จะไปขัดขวางการไหลของกระแสทำให้กระแสไหลได้น้อยลง
ส่งผลให้ แบตเตอรี่ จ่ายกระแสให้กับโหลดได้น้อยลง
นอกจากนี้ผลึกที่มีขนาดใหญ่จะมีเหลี่ยมหรือมุมที่คมและแหลม
ในกรณีที่ร้ายแรงอาจจะทิ่มจนแผ่นธาตุทะลุได้
ทำให้ แบตเตอรี่ เกิดการลัดวงจรขึ้นภายในเราจะเรียกปรากฎที่เกิดผลึกขนาดใหญ่ของตะกั่วซัลเฟตนี้ว่าการเกิดซัลเฟชั่น (Sulphation or Sulfation นั่นเอง)
ไม่ใช้รถนานๆ ไม่ควรคาแบตไว้ในรถ ให้ดีปลดขั้วลบออก แล้ว ชาร์ทเดือนละครั้งให้เต็มการเกิดซัลเฟชั่นจะยิ่งง่ายขึ้นถ้าทิ้ง แบตเตอรี่ ไว้โดยที่มันมีประจุเหลืออยู่น้อยหรือไม่เหลืออยู่เลย
ดังนั้นจึงควรเก็บแบตฯ ไว้โดยการชาร์จให้ประจุเต็มอยู่เสมอ
โดยอาจจะชาร์จเติมประจุโดยใช้กระแสต่ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ ซึ่งเรียกว่าทริกเกิลชาร์จ หรือโฟลทชาร์จ
ซึ่งการชาร์จแบบนี้มักจะพบในระบบสำรองไฟฟ้าหรือระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉิน (แบบ ยูพีเอส สำหรับ คอมพิวเตอร์)
ชาร์ทแบบเร็ว กะแบบช้าอะไรดีกว่ากัน / คำว่า"ช้าๆได้พร้าเล่มงามไง"ไปชาร์ทตามร้านขายแบต หรือ dilivery แบบส่งเช้าเที่ยงไปเอาน้ำกรดแตกฝอยกระเด็นล้นออกมา นั่นแหละพังไว (จะได้ไปถอยลูกใหม่ไวๆด้วย)การชาร์จแบตฯ ตะกั่วกรดโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 8-16 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตฯ) หรืออัตราสูงกว่า 10% ความจุของแบต เช่น แบต50แอมป์ชั่วโมง ก็ต้องชาร์ทสัก 4-5 แอมป์ต่อชั่วโมง
โดยแบตฯ แบบแห้งจะชาร์จได้ช้ากว่าแบบเปียก เพราะจะต้องลดอัตราการชาร์จลงเพื่อไม่ให้เกิดแก๊สขึ้นภายในเซลส์มากเกินไป การสะสมของแก๊สจะทำให้ความดันภายในเซลส์สูงขึ้น ทำให้สูญเสียอิเล็กทรอไลต์ไปจากการระบายแก๊สหรือน้ำออกทางรูระบายหรือเซฟตี้วาล์ว หรืออาจทำให้แบตฯ ถึงขั้นแตกเสียหายได้ถ้าชาร์จเร็วสูงทำให้ความดันสูงไปด้วยจนเซฟตี้วาล์วระบายความดันไม่ทัน