เจตนารมณ์ของการออกกฎหมายที่สำคัญประการหนึ่งคือเพื่อคุ้มครองสังคมโดยส่วนรวม ถ้าถามว่ากฎหมายควบคุมเรื่องไฟตัดหมอกสำหรับประเทศไทยเหมาะสมมั้ย ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ตอบว่าใช่ เพราะฉะนั้นในเมื่อกฎหมายเรื่องนี้เหมาะสมแล้ว เราในฐานะสมาชิกของสังคมก็ควรที่จะเคารพ แต่หากการบังครับใช้ไม่ทั่วถึงหรือเลือกปฏิบัติก็ควรแก้ไขปรับปรุงในส่วนนั้นให้มีประสิทธิภาพ มิใช่เป็นข้ออ้างที่จะยกเลิกกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติ ลองคิดดูสิสมมุติว่ามีการยกเลิกกฎหมายเรื่องไฟตัดหมอกออกไป ต่อไปเวลาขับรถบนถนนรถทุกคันต่างก็เปิดกันหมด แล้วสภาพการจราจรในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร??? เราจะขับรถอย่างมีความสุขได้อย่างไรล่ะครับ...
ใช่ครับ คห.นี้ตรงใจผมที่สุด ในเมื่อกฏหมายบัญญัติมาแล้ว ถึงแม้บางเรื่องไม่ผิดศีลธรรม
แต่ผิดเพราะกฏหมายบัญญัติให้เป็นความผิด (เช่น โทรในขณะขับรถ เมาแล้วขับ)
ก็เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวมเราในฐานะประชาชนก็ควรปฏิบัติตามครับ
ส่วนใครจะมีความสามารถ มีเส้นมีสายมีสีมีสรรแหกกฏได้ ก็ช่างเขาเถิด
(ปัญหานี้ไม่มีทางแก้ได้เนื่องจากนิสัยคนไทยเราขี้เกรงใจ)
ถ้าเราส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกฏหมาย ปลูกผังจิตสำนึกที่ดีให้ลูกเรา หลานเรา คนที่เรารู้จัก
ต่อๆกันไปจนฝังรากลึกกลายเป็นวัฒนธรรมที่ดี บ้านเมืองก็จะสงบเรียบร้อยน่าอยู่ครับ
(ไม่โดนจับ.......ไม่เสียค่าปรับด้วยน้า...อิอิ)
ความคิดเห็นผมผิดถูกอย่างไร ก็อย่าว่ากันเด้อ..