ไปหาข้อมูลเพิ่มเติม เจออันนี้มา ใครสงสัยระหว่าง ดิสเบรค กับ ดรัม เบรค ศึกษาดูได้ครับ ระบบดิสเบรก
ระบบดิสเบรคจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนพื้นฐาน คือ จานเหล็กหล่อ(จานดิสเบรค) , ผ้าดิสเบรค ,
ก้ามปู และลูกสูบ จานดิสเบรคจะหมุนไปกับล้อ ไม่มีแผงหรือชิ้นส่วนใดมาปิด ทำให้สามารถระบาย
ความร้อนได้ดี ( ที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ ประสิทธิภาพการเบรคจะลดลง ) พร้อมทั้งช่วยให้เบรคที่เปียก
น้ำ แห้งได้อย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ขนาดของจานเบรคก็มีข้อจำกัด เนื่องด้วยขนาดของขอบล้อ
ทำให้ขนาดของผ้าดิสเบรคมีข้อจำกัดไปด้วย เพื่อชดเชยข้อจำกัดดังกล่าว ก็จะต้องป้อนแรงดันน้ำมัน
เบรคให้มากขึ้น ผ้าดิสเบรคจะสึกเร็วกว่าผ้าเบรคของเบรคครัม ในขณะที่ดิสเบรกบำรุงรักษาง่ายกว่า
เบรกแบบนี้ ใช้แรงดันน้ำมันเป็นตัวส่งถ่ายกำลังงาน เมื่อบีบคันเบรกมือลูกสูบของแม่ปั๊มเบรกจะ
เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทำให้น้ำมันเบรกเกิดแรงดันไหลไปตามท่อไปดันลูกสูบของ ชุดคาลิเปอร์กดแผ่น
ผ้าเบรกซึ่งประกบอยู่ทั้งสองด้านของจานเบรก จานเบรกจะทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม จานเบรกจะหมุน
ไปพร้อมกับล้อ ดังนั้นเมื่อจานเบรกถูกบีบ ล้อก็จะมีความเร็วลดลงหรือหยุดได้ตามความต้องการ
ข้อดีของดิสก์เบรกเมื่อเทียบกับดรัมเบรก
1.จานเบรกเปิดไม่ปกปิด จึงระบายความร้อนได้ดีและสะอาด ดังนั้นประสิทธิภาพในเบรกจึงคงที่
สม่ำเสมอเชื่อถือได้
2.ไม่มีการเสริมแรงเหมือนกับดรัมเบรกที่มีลักษณะการท ำงาน ฝักเบรกนำจึงไม่มีความแตกต่างกำลัง
ในการเบรก ระหว่างเบรกด้านขวาและด้านซ้าย ดังนั้นรถจักรยานยนต์จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเบรก
แล้ว ดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง
3. จานเบรกจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ระยะห่างระหว่างจานเบรกกับแผ่นผ้าเบรกก็จะเปลี่ยนไป
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นคันเบรกและคันเหยียบเบรก จึงยังคงทำงานได้เป็นปกติ
4.เมื่อจานเบรกเปียกน้ำก็จะถูกเหวี่ยงออกในระยะเวลาอ ันสั้นด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ เนื่องจากมีข้อดี
มากมายดิสก์เบรกจึงถูกเลือกใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบรก หน้า เพราะขณะทำการเบรก ภาระแทบ
ทั้งหมดจะไปกระทำที่ด้านหน้า ดังนั้นเบรกล้อหน้าจึงมีความสำคัญจำเป็นต้องใช้ดิสก์ เบรกกับล้อหน้า
ทั้งปั๊มและคันเบรกจะติดตั้งอยู่บนแฮนด์ด้านขวามือ นั่นคือการทำงานโดยเบรกมือด้วยการบีบคันเร่ง
เพื่อเพิ่มกำลังในการเบรก ปัจจุบันดิสก์เบรกนี้ นอกจากจะนำมาใช้กับล้อหน้าแล้ว จักรยานยนต์บางรุ่น
ยังนำมาใช้กับล้อหลังด้วยนั่นก็คือดิสก์เบรกทั้งล้อห น้า และล้อหลัง ตัวจานเบรกจะยึดติดกับดุมล้อหลัง
ชุดคาลิเปอร์จะมีตัวรองรับยึดอยู่ สำหรับล้อหลังเป็นเบรกเท้า ทำงานด้วยการกดคันเหยียบเบรก
แบบของดิสก์เบรกนั้นถูกแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 แบบคือ
1.แบบลูกสูบตรงกันข้าม แบบนี้มีลูกสูบ 2 ลูกอยู่ตรงกันข้าม แผ่นผ้าเบรกทั้งคู่ถูกกดด้วยลูกสูบตามลำดับ
2.แบบลูกสูบลูกเดียว แบบนี้มีลูกสูบลูกเดียว เมื่อแผ่นผ้าเบรกด้านลูกสูบถูกกดให้สัมผัสกับจานเบรก
แผ่นผ้าเบรกอีกด้านหนึ่งก็จะเคลื่อนตัวมาสัมผัสกับจา นเบรก ด้วยแรงปฏิกิริยา ดังนั้นจานเบรกจึงถูกบีบ
โดยผ้าเบรกทั้งคู่ ดิสก์เบรกแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบลอย
ข้อดีลดอาการเฟด(เบรกหาย) เนื่องจากอากาศสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าดรัมเบร ก
นอกจากนี้เมื่อเบรกเปียกน้ำผ้าเบรกจะสลัดน้ำออกจากระ บบได้ดี ในขณะที่ดรัมเบรกน้ำจะขัง
อยู่ภายในและใช้เวลาในการถ่ายเทค่อนข้างช้า
ข้อเสีย ไม่มีระบบ Servo action หรือ multiplying action เหมือนกับดรัมเบรก
ผู้ขับต้องออกแรงมากกว่าจึงต้องใช้ระบบเพิ่มกำลัง เพื่อเป็นการผ่อนแรงขณะเหยียบเบรก
ทำให้ระบบดิสเบรกมีราคาค่อนข้างแพงกว่าดรัมเบรก
ดิสเบรก มีทั้ง 3 ชนิดดังนี้
2.1 ดิสเบรกแบบก้ามปูยึดติดอยู่กับที่ (Fixed position disc brake)
ดิสเบรกจะมีผ้าเบรกอยู่ 2 แผ่นติดอยู่ภายในก้ามปู (คาลิเปอร์) วางประกบกับจานเบรก
เพื่อที่จะบีบจานเบรกตัวก้ามปูนั้นเป็นเพียงที่ยึดขอ งลูกปั้มเท่านั้น จะไม่เคลื่อนที่ขณะเบรก
ทำงาน ดิสเบรกแบบนี้มีช่องทางเดินน้ำมันเบรกอยู่ภายในตัวก้ ามปู หรืออาจมีท่อเชื่อมต่อ
ระหว่างลูกปั้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรถยนต์แต่ละชนิด
2.2 ดิสเบรกแบบก้ามปูแกว่งได้ (Swinging caliper disc brake)
พบมากในรถยนต์ทั่วไป หลักการทำงานแตกต่างจากก้ามปูยึดอยู่กับที่ เบรกแบบนี้จะมี
ลูกปั้มหนึ่งตัวคอยดันผ้าเบรกแผ่นหนึ่ง ส่วนผ้าเบรกอีกแผ่นจะติดอยู่กับตัวก้ามปูเอง
ซึ่งตัวก้ามปูนี้สามารถเคลื่อนไปมาได้ เมื่อเหยียบเบรกน้ำมันเบรกจะดันลูกปั้มออกไป
ผ้าเบรกแผ่นที่ติดอยู่กับลูกปั้มจะเข้าไปประกบกับจาน เบรก ในขณะเดียวกันน้ำมันเบรก
ก็จะดันตัวก้ามปูทั้งตัวให้เคลื่อนที่สวนทางกับลูกปั ้ม ผ้าเบรกตัวที่ติดกับก้ามปูก็จะเข้าประกบ
กับจานเบรกอีกด้านหนึ่งพร้อมกับผ้าเบรกแผ่นแรก
2.3 ดิสเบรกแบบเคลื่อนที่ไปมาได้ (Sliding Caliper disc brake)
หลักการแบบเดียวกับดิสเบรกแบบแผ่น แต่ใช้ลูกปั้มสองตัว ตัวแรกเป็นตัวดันผ้าเบรก
โดยตรง ส่วนอีกตัวจะดันก้ามปู ซึ่งมีผ้าเบรกติดอยู่ให้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับลูกป ั้ม
ตัวแรก แผ่นผ้าเบรกทั้งสองจะเข้าประกบกับจานเบรกทั้งสองด้าน พร้อมๆ กัน