ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2025 เวลา 05:24:25

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

315,832 กระทู้ ใน 27,428 หัวข้อ โดย 14,887 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: bigboys
* หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
+  Vlovepeugeot ชมรมคนรักเปอโยต์ (เปอร์โยต์) ประเทศไทย
|-+  มีปัญหา /สอบถาม /ให้คำแนะนำ รถยนต์ peugeot แต่ละรุ่น
| |-+  40X
| | |-+  ระบบควบคุมมลภาวะของ Peugeot 406
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ระบบควบคุมมลภาวะของ Peugeot 406  (อ่าน 26166 ครั้ง)
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« เมื่อ: วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2008 เวลา 23:11:36 »


       ด้วยเห็นว่ารถ Peugeot เป็นรถยนต์ที่คุ้มค่าเกินราคา เมื่อหามือสองมางานใช้จึงทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นว่ามันมีดีอะไรและคงจะมีแต่ผู้ใช้มันเท่านั้นที่ได้สัมผัสสมรรถภาพที่แท้จริงของมัน ซึ่งคงไม่ต้องพรรณาว่ากันให้มากความ  เอาเป็นว่าไม่มีสิ่งใดที่ดีเลิศและคงสภาพเช่นนั้นไว้ตลอดกาล คงมีบ้างในบางคราวที่มันเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา ดังนั้นการเรียนรู้ระบบต่างๆของมันจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ในการประเมินสถานการณ์เบื้องต้นและแก้ไขข้อบกพร่องก่อนที่มันจะเกิดความเสียหายอันเกิดจากความไม่รู้
       จากการที่ได้ใช้ PG405 คันล่างซ้ายแล้วประทับใจจึงได้หาบรรดาสิงห์เท่านั้นมาใช้งาน แต่ทว่ามีเหตุให้ต้องแก้ไข ต้องเสียเวลาและหมดค่าใช้จ่ายไปไม่น้อยกับเรื่องของ ANTIPOLLUTION  FAULT ที่ซับซ้อน ซึ่งไม่มีอยู่ในคันแรก และมีระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องมากมายรวมถึงชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์เองด้วย อันเป็นแรงบันดาลใจให้ต้องค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องนี้  แต่ว่าโชคไม่เข้าข้างเราที่จะหาอ่านเรื่องราวที่ชัดเจนของมันในภาคภาษาไทยได้  จึงต้องอาศัยสื่อหนึ่งท่องไปในโลกกว้างอันเป็นอภิมหาห้องสมุดที่อุดมไปด้วยนานาสาระความรู้ มากมายมหาสาร   ซึ่งมันก็คือ Internet ที่เรากำลังอยู่กับมันนั่นเอง   อีกทั้งใช้หนังสือ Peugeot 406 Haynes Service and Repair Manual ร่วมในการอ้างอิงด้วย  เมื่อได้รวบรวมสรุปเนื้อหาสาระแล้วจึงจะนำมาบอกเล่าสู่คนเลี้ยงสิงห์  และด้วยข้อจำกัดในความรู้ความสามารถของผู้เขียนเองจึงยังคงมีส่วนที่เข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง  จึงใคร่ขอเชิญชวนท่านแสดงความคิดเห็นร่วมกันแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆด้วยความยินดียิ่งเพื่อประโยชน์ของเราชาวสิงห์
                                                                               ด้วยความความสำนึกขอบคุณในความรู้ที่ได้จากชาว Peugeot
                                                                                                                        Zuzarz / Blue Leo


* 00-001-PG.jpg (86.76 KB, 450x338 - ดู 6028 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #1 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2008 เวลา 23:17:29 »


ระบบควบคุมมลภาวะ(EMISSION CONTROL SYSTEM) ของรถยนต์  Peugeot 406  EA9
        ด้วยความต้องการที่จะควบคุมการแพร่กระจายของมลพิษที่ออกมาจากการสันดาปภายในของเครื่องยนต์ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของ น้ำมันเชื้อเพลิง (สารประกอบของ ไฮโดรเจน(H) กับ คาร์บอน(C) และสารปรุงแต่งอื่นๆอีกน้อยนิด) กับ อากาศ (ส่วนประกอบของก๊าซออกซิเจน(O) 21 ส่วน, ก็าซไนโตรเจน(N) 78 ส่วน,
และอื่นๆอีก 1 ส่วน) แล้วจะปล่อยไอเสีย  ซึ่งมีทั้ง ไอน้ำ, ก๊าซพิษ และเขม่าควัน ออกสู่บรรยากาศโดยที่ทั้งก๊าซ และเขม่าควันนั้นเป็นมลพิษที่มีอันตรายต่อมวลมนุษย์ จึงจำเป็นต้องหามาตรการในการควบคุมปริมาณมลพิษเหล่านี้ขึ้น
        มลพิษจากไอเสียรถยนต์ประกอบไปด้วย ไฮโดรคาร์บอน(HC), ไนโตรเจนออกไซด์(NOx), คาร์บอนมอนอกไซด์(CO)  และคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ผู้ร้ายที่ทำให้โลกร้อน
        มาตรฐานการควบคุมมลภาวะ, สมาคมควบคุมมลภาวะของยุโรปได้ออกกฏข้อบังครับ ให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องควบคุมการปลดปล่อยมลพิษต่างๆออกมาต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ (EU Emission Standard)
ทั้งนี้  Peugeot 406 EA9 ที่ผลิตขึ้นในปี 2000 ต้องได้ มาตราฐาน Euro 3 และ Euro 4 ในปี 2005
(อ้างอิง: http://www.dieselnet.com/standards/eu/ld.php)


      Peugeot 406 EA9   มีวิธีการควมคุมมลภาวะอย่างไร ?
Peugeot 406 EA9 มีวิธีการควมคุมมลภาวะเหล่านี้ถึง 5 ระบบด้วยกันคือ
1. Positive Crankcase Ventilation (PCV)
2. Exhaust Gas Recirculation (EGR)
3. Evaporative Control
4. Air Injection
5. Catalytic Converter
         และการควมคุมมลภาวะนี้จะสมบูรณ์ได้จำเป็นต้องมีผู้ตรวจการณ์ด้วย
 6. Oxygen Sensor
 การควมคุมมลภาวะเมื่อใดก็ตามที่ระบบเหล่านี้ไม่ทำงานตามหน้าที่โดยสมบูรณ์ ตามที่ได้ถูกโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำของ ECU (Engine Control Unit)  จนเกิดความบกพร่องขึ้น  พฤติการณ์ของระบบนั้นๆจะถูกจดบันทึกไว้เป็นรหัส(Fault Code)   โดยมี Oxygen Sensor เป็นผู้ร่วมตรวจจับ/เปรียบเทียบปริมาณของก๊าซอ็อกซิเจนที่เหลือจากการเผาไหม้  แล้วส่งฟ้องขึ้นบนจอแสดงผล (Multi Function Display Panel) ว่า ? ANTIPOLLUTION SYSTEM FAULT ?
      รหัส(Fault Code) ที่ถูกบันทึกไว้นี้จะช่วยให้ช่างรู้ถึงจุดบกพร่องของระบบได้อย่างถูกต้องแม่นยำและสะดวกรวดเร็วในการวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขที่ได้ผลรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้เครื่องมือช่วยตรวจวินิจฉัยที่ชื่อว่า Peugeot Planet System (PPS) ต่อเข้ากับ Diagnostic Socket ของรถยนต์ก็จะสามารถอ่านระหัสออกมาได้
       รหัสที่ใช้นี้ได้ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเรียกว่า OBD II (On Board Dianostic II)  รหัสเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ เป็น  5 ตัวอักษร ด้วยกัน   เช่น P0401 หมายถึง ? ตรวจจับได้ว่าระบบ EGR มีปริมาณการไหลของไอเสียน้อยกว่าปกติ?  และข้อบกพร่องของระบบการควบคุมมลภาวะนี้จะถูกบันทึกอยู่ในระหัสกลุ่ม  P04XX (=Auxiliary Emission Control)
(อ้างอิง : http://www.pikit.co.uk/peugeotmt/eobd%20p%20codes%20explained.html )


      อย่างไรก็ตามก่อนการวิเคราะห์ปัญหาของระบบ Emission Control ต้องมั่นใจว่า Engine Sensor  ทุกตัวที่ส่งข้อมูลให้ ECU นำไปประเมิณผลจะต้องทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ด้วย  มิเช่นนั้น ECU ก็จะสั่งการให้อุปกรณ์ของระบบ Emission Control ทำงานผิดพลาดตามไปด้วย
          1. ภาพประกอบ ของ Engine Sensor ต่างๆ


* 00-Xa-Engine-Sensor.jpg (75.72 KB, 1000x488 - ดู 6291 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #2 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2008 เวลา 23:18:19 »


        2. แผนผังของการควบคุมเครื่องยนต์/ Engine Control Diagram, Engine Sensor


* 00-Ya-Engine-Control-Diagram.jpg (88.74 KB, 642x800 - ดู 7598 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #3 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2008 เวลา 23:19:33 »


ระบบต่างๆทำงานอย่างไร ?
 1.     Positive Crankcase Ventilation (PCV) System / ระบบระบายความดันในห้องเพลาข้อเหวี่ยง
        ในช่วงจังหวะการอัดอากาศของลูกสูบจะมีก๊าซจำนวนหนึ่งที่ถูกอัดอยู่ในห้องเผาไหม้ได้เล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบเข้าไปผสมอยู่กับไอของน้ำมันเครื่อง(Oil)ในห้องเพลาข้อเหวี่ยง   ก๊าซเหล่านี้มีส่วนผสมของไอน้ำมันเชื้อเพลิง(HC)ที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ซึ่งมีผลทำให้ Oil เจือจางเสื่อมสภาพเร็วขึ้นและไอน้ำที่ปะปนอยู่ก่อให้เกิดสภาพความเป็นกรดอันทำไห้เกิดขี้โคลนอันเป็นอุปสรรคต่อการหล่อลื่นและการเกิดสนิมของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์
       ขณะที่รอบเครื่องยนต์สูงๆความดันในห้องเพลาข้อเหวี่ยงก็จะสูงมากขึ้นเป็นเหตุให้มี Oil รั่วซึมออกมาตามปะเก็น(O- ring/Seal/Gasket) ของเครื่องยนต์
        วัตถุประสงค์ของระบบนี้คือการนำเอาไอของก๊าซพิษออกจากห้องเพลาข้อเหวี่ยง โดยการดูดกลับเข้าไปในท่อร่วมไอดีแล้วพาเข้าสู่ห้องเผาไหม้ต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ไอก๊าซพิษออกสู่บรรยากาศ และช่วยดึงไอน้ำออกจากระบบช่วยยืดอายุ  Oil ได้อีกด้วย
        Peugeot 406 EA9 ใช้ระบบ Closed PCV แบบ Fixed Orifice   เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ในการควบคุมมลภาวะอย่างได้ผล   โดยการเปิดทางให้ก๊าซในห้องเพลาข้อเหวี่ยงถูกดูดผ่านท่อทางเข้าสู่รูเปิดที่มีขนาดเหมาะสม (Fixed Orifice) แล้วต่อเข้าที่ทางเข้า   ก่อนและหลัง  ชุดลิ้นปีกผีเสื้อ เข้าท่อร่วมไอดีอย่างสมดุลและสัมพันธ์กับแรงดูดของสูญญากาศในท่อร่วมไอดี
        ด้วยระบบนี้เป็นระบบปิด ภายในห้องเพลาข้อเหวี่ยงและห้องเพลาลูกเบี้ยวจึงไม่มีรูหายใจ(Vent) ออกสู่บรรยากาศ และที่ฝาเติม Oil ก็จะมี Seal ปิดแน่นด้วย
        การดูแลรักษา ควรตรวจสอบท่อระบายไอน้ำมัน ไม่ให้มีสิ่งใดกีดขวางหรืออุตันทางเดิน มิเช่นนั้นความดันไอในระบบจะสูงขึ้นและดันออกทาง O- ring/Seal/Gasket ทำให้เกิดการเสียหายขึ้น   และถ้ามีการรั่วของระบบนี้  เช่น ท่อระบายไอน้ำมันแตกหัก, Seal  ที่ฝาเติมOil ไม่แน่นสนิท, ก้านวัดระดับน้ำมันไม่ปิดสนิท เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้รอบเดินเบาสูงหรือไม่นิ่งได้

ภาพประกอบชิ้นส่วนและหลักการของระบบ PCV


* 01-PCV.jpg (69.27 KB, 669x300 - ดู 6122 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #4 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2008 เวลา 23:22:41 »


2.Exhaust Gas Recirculation (EGR) / ระบบหมุนเวียนไอเสียกลับเข้าห้องเผาไหม้
ระบบ EGR นี้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายก๊าซไนโตรเจนออกไซด์(NOx) ออกสู่บรรยากาศ   ก๊าซนี้จะเกิดในปริมาณมากขึ้นตามอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ที่เพิ่มสูงขึ้น
       หลักการทำงาน คือการใช้วาล์ว(Valve)ไฟฟ้า ควบคุมการ ปิด-เปิด ให้ไอเสียจำนวนหนึ่งประมาณ 6-10 % ถูกดูดผ่านเข้าไปในท่อร่วมไอดีเข้าสู่ห้องเผาไหม้  ทำให้ส่วนผสมของ อากาศ/น้ำมันเชื้อเพลิง เจือจางลง ทำให้ลดปริมาณความร้อนและอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ลดลง  สมรรถนะของเครื่องยนต์ก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นปริมาณของไอเสียที่ยอมให้ผ่านเข้าไปในร่วมท่อไอดีจะต้องเหมาะสมที่สุด   จึงต้องให้ ECU เป็นผู้ควบคุมดูแลและสั่งการให้ Valve นี้ทำงาน
       ระบบนี้จะ ไม่ ทำงานเมื่อ เครื่องยนต์เย็น ,ใช้รอบเดินเบา และขณะเร่งเครื่องเต็มกำลัง   
ถ้า Valve นี้ เปิดค้าง อยู่ก็จะทำให้ สตาร์ทติดยาก,รอบเดินเบาไม่นิ่ง, กำลังตก, เครื่องยนต์ สะดุดขณะเร่งเครื่อง    และถ้า Valve นี้ ไม่เปิด ขณะใช้ความเร็วคงที่(Cruise) เครื่องยนต์ก็จะเขกเนื่องด้วยอุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงเกิน
จึงชิงจุดระเบิดก่อนเวลาอันควร
       การดูและรักษาระบบ ให้ตรวจสอบท่อทางและ EGR Valve ไม่ให้มีสิ่งสกปรกอุดตัน ขั้วต่อไฟฟ้าแน่นหนา/สะอาด และต้องมั่นใจว่า Engine Sensor  ทุกตัวที่ส่งข้อมูลให้ ECU นำไปประเมินผลจะต้องทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ด้วย

ภาพประกอบชิ้นส่วนและผังการไหลเวียนไอเสียของระบบ EGR


* 02-a-EGR.jpg (38.04 KB, 538x494 - ดู 5813 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #5 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2008 เวลา 23:24:23 »


3.Evaporative Control / ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง
    ระบบนี้มีหน้าที่กักเก็บไอน้ำมัน(HC) ที่จากการระเหยของน้ำมันในถัง(Fuel) โดยใช้ถ่าน(Charcoal)เป็นตัวดูดซับไอระเหยนี้ไว้ในกระป๋อง เมื่อติดเครื่องยนต์ก็จะปล่อยให้ถูกดูดเข้าในห้องเผาไหม้ในเวลาที่เหมาะสม
    ระบบนี้ เป็นระบบปิด ฝาถังน้ำมัน(Fuel)จึงมี Seal ปิดแน่นสนิท ไอน้ำมันที่เกิดขึ้นในช่องว่างของถังจะไหลเข้าและถูกถ่านดูดซับไว้ในกระป๋อง มีวาล์วไฟฟ้า(Purge Valve)ที่ควบคุมโดย ECU เป็นผู้ควบคุมการ ปิด-เปิด ในช่วงเวลาที่เหมาะสมยอมให้ไอน้ำมันนั้นถูกดูดเข้าท่อร่วมไอดีเข้าสู่ห้องเผาไหม้ต่อไป 
     ด้วยไอน้ำมันนี้มีผลทำให้ส่วนผสม อากาศ/น้ำมันเชื้อเพลิง หนามากขึ้น ดังนั้นขณะที่เครื่องยนต์เย็นหรือใช้รอบเดินเบาอยู่ ECU จะสั่งปิดวาล์วไม่ให้ไอน้ำมันในกระป๋องถ่านเข้าห้องเผาไหม้ได้ ซึ่งจะมีผลให้รอบเดินเบาสูงขึ้นและมีควันดำ แต่ขณะที่เครื่องยนต์อุ่นและมีภาระมากขึ้น ECU ก็สั่งให้ Vale เปิด-ปิด สลับกันไปอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยระบายไอในระบบออก
     การดูแลรักษา ควรตรวจสอบท่อระบายไอน้ำมันไม่ให้อุดตัน ถ้าท่อทางที่ต่อเข้ากับชุดปีกผีเสื้อแตก,รั่วก็ให้รอบเดินเบา สูงเกินหรือไม่นิ่งได้, และควรเปลี่ยนกระป๋องถ่านเมื่ออิ่มตัว

ภาพชิ้นส่วนประกอบระบบ  Evaporative Control


* 03-Evaporative-Emission-System.jpg (73.59 KB, 650x375 - ดู 5707 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #6 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2008 เวลา 23:27:20 »


4.Secondary Air Injection / ระบบฉีดอากาศให้ไอเสีย
     ระบบนี้ออกแบบมาเพื่อกำจัดมลภาวะจากไอเสีย  ที่มีไอน้ำมันเชื้อเพลิง(HC)ที่ยังไม่ถูกเผาไหม้, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) , คาร์บอนมอนอกไซด์(CO) และไนโตรเจนออกไซด์(NOx) โดยการอัดอากาศเข้าไปในไอเสียทันทีที่ออกห้องเผาไหม้ทำให้เกิดการเผาไหม้ไอน้ำมันที่หลงเหลือเหล่านั้นอีกครั้ง
     ระบบนี้ประกอบด้วย  ปั๊มอากาศ(Air Pump), ท่อส่งอากาศ  และวาล์ว(Air injection Valve)
การทำงานของระบบนี้  มี ECU เป็นผู้สั่งการให้ Air Pump ดูดอากาศจากภายนอกผ่านท่อทางเข้า Valve ซึงทำหน้าที่ป้องกันไอเสียไหลย้อนออกสู่บรรยากาศ  เมื่ออากาศออกจาก  Valve  ก็จะ ผ่านเข้าช่องทางเล็กๆภายในฝาลูกสูบออกไปเติมอากาศให้ ไอเสียที่เพิ่งออกมาจากแต่ละลูกสูบ เพื่อเผาไหม้ไอน้ำมันที่หลงเหลือออกมานั่นเอง 
      โดย Air Pump นี้จะถูกสั่งให้ทำงานในช่วงสั้นๆ เพียง 10-45 วินาทีหลังสตาร์ทเครื่องยนต์เท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิของเครื่องยนต์ขณะนั้นด้วย เพราะเหตุว่าช่วงเวลานี้ส่วนผสมจะมีน้ำมันหนากว่าช่วงเวลาอื่นนั่นเอง ผลพลอยได้จากการเผาไหม้ช่วงนี้คือ ความร้อนที่ได้จะช่วยเร่งให้ Catalytic Converter ถึงอุณหภูมิทำงานเร็วขึ้นด้วย
      การดูแลรักษา ควรตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ ท่อส่งอากาศไม่แตก,รั่ว   อย่างไรก็ตามช่องทางเล็กๆภายในฝาลูกสูบมีโอกาสตีบตันจากเขม่าได้ง่ายและไม่สามารถมองเห็นได้ จึงควรเป่าลมแรงๆไล่เขม่าออกไปบ้างเป็นครั้งคราว
ภาพชิ้นส่วนประกอบของระบบ  Secondary Air Injection


* 04-a-Air-Injection.jpg (36.71 KB, 650x384 - ดู 5765 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #7 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2008 เวลา 23:28:16 »


      5.   Catalytic Converter /  อุปกรณ์ช่วยฟอกสารพิษในท่อไอเสีย
    Catalytic Converter เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากในการลดมลภาวะจากไอเสีย โดยเป็นตัวเร่งให้เกิดปฏิกริยาเคมีให้มลพิษมีโครงสร้างเปลี่ยนไป
     ใน Catalytic Converter จะมีลักษณะเป็นโพรงตามยาวคล้ายรังผึ้งที่ทำจากสาร ทองคำขาว(Platinum)หรือ แพลเลเดียม(Palladium) ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นสารกระตุ้นช่วยเร่งปฏิกริยาเคมี          เมื่อมีสารไฮโดรคาร์บอน(HC), คาร์บอนมอนอกไซด์(CO), ไนโตรเจนออกไซด์(NOx) ที่มากับไอเสีย ผ่านเข้าไปในโพรงเล็กๆของ Catalytic
ก็จะถูกกระตุ้นเร่งให้ให้กลายเป็นออกไซด์(Oxidize)  แล้วกลายสภาพเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)และไอน้ำ(H2O) ปล่อยออกสู่บรรยากาศ     ตัวสาร Catalytic นี้จะเริ่มทำงานได้เมื่อตัวมันร้อน ที่อุณหภูมิประมาณ 400?F  และมีอุณหภูมิทำงานปกติอยู่ระหว่าง 400?F - 1600?F (ประมาณ 200?C - 870?C)
      เมื่อ Catalytic Converter เสื่อมสภาพหรืออุดตันจะแสดงอาการดังนี้  กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น,เครื่องยนต์กำลังตก,รอบเดินเบาไม่เรียบทำท่าจะดับ เป็นต้น  ดังนั้นควรเปลี่ยนใหม่เมื่อหมดสภาพ

ภาพตัดประกอบโครงส้างของ Catalytic Converter


* 05-Catalytic-Converter.jpg (87.96 KB, 500x530 - ดู 13237 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #8 เมื่อ: วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2008 เวลา 23:29:29 »


     6.  Oxygen Sensor / อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณ ออกซิเจน(O2)
    Oxygen Sensor (O2 Sensor)  เป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ในรถยนต์ เพื่อให้ได้พลังงานสูงสุดจากเครื่องยนต์ ในขณะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง(Fuel)และปล่อยมลพิษ(Pollutant)ออกมากับไอเสียน้อยที่สุด  
    Oxygen Sensor จะทำหน้าที่เฝ้าตรวจจับปริมาณออกซิเจน(O2)ที่เหลือจากการเผาไหม้ออกมากับไอเสีย แล้วส่งข้อมูลให้ ECU นำไปประเมินผลแล้วสั่งการให้หัวฉีด(Fuel Injector)ปรับแต่งการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนั้นๆ และรวมถึงการสั่งการให้อุปกรณ์ควบคุมมลภาวะต่างๆทำงานตามเวลาที่เหมาะสม
     Oxygen Sensor ทำงานอย่างไร ?    Oxygen Sensor เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากปฏิกริยาเคมี โดยตัวมันจะทำการเปรียบเทียบปริมาณ O2 ที่มีอยู่ในไอเสียกับอากาศภายนอก แล้วผลิตแรงดันไฟฟ้า(Voltage)ออกมาได้ในช่วงประมาณ  0-1.1 Volt   ในรถยนต์บางคันมี O2 Sensor  2 ตัว ติดตั้งอยู่ที่ ก่อนและหลัง Catalytic Converter เพื่อดูว่ามี O2 ก่อนเข้าและออกจาก Catalytic Converter ต่างกันมากน้อยเพียงใด ถ้าใกล้เคียงกันหรือไม่แตกต่างกันแสดงว่า Catalytic Converter ไม่ได้ทำหน้าที่ของมันโดยสมบูรณ์  เช่นมีสิ่งสกปรกอุดตัน ปฏิกริยาทางเคมีอิ่มตัว หรือเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อนเกิน
      การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ในห้องสันดาปของเครื่องยนต์เบนซินต้องการอัตราส่วนผสมของอากาศ 14.7 ส่วน กับน้ำมันเชื้อเพลิง 1 ส่วน โดยน้ำหนัก  ดังนั้นถ้าเครื่องยนต์ได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าที่ต้องการ(ส่วนผสมหนา/Rich)  O2ที่มีอยู่ก็จะถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมดสิ้น  O2 Sensor จะผลิตแรงดันไฟฟ้าออกมามากกว่า 0.45 Volts  แต่ถ้าเครื่องยนต์ได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยกว่าที่ต้องการ(ส่วนผสมบาง/Lean)  น้ำมันเชื้อเพลิงก็จะถูกใช้จนหมด แต่มี O2 เหลือใช้จากการเผาไหม้  O2 Sensor จะผลิตแรงดันไฟฟ้าออกมาน้อยกว่า 0.45 Volts  ปกติแล้ว O2 Sensor จะผลิตแรงดันไฟฟ้าออกมาในช่วง 0.2-0.9 Volts  อย่างไรก็ตาม Oxygen Sensor นี้จะผลิตแรงดันออกมาได้ถูกต้องเที่ยงตรงที่สุดเมื่อตัวมันมีอุณหภูมิประมาณ 300?C  
     โครงสร้างของ Oxygen Sensor โดยสังเขป  ในฝาครอบ(Shield)ที่มีช่อง(Split)ให้ไอเสียผ่านเข้าไปสัมผัสกับแท่งสารที่ไวต่อ O2 (Zirconia Ceramic) ที่ถูกเคลือบด้วย Platinum ที่มีรูพรุน ทั้งด้านที่สัมผัสกับไอเสียและด้านที่สัมผัสกับอากาศภายนอก  ซึ่งใช้เป็นขั้วนำไฟฟ้าในการจ่ายแรงดันไฟฟ้านั่นเอง   ด้วย Oxygen Sensor จะผลิตแรงดันออกมาได้ถูกต้องที่สุดเมื่อตัวมันมีอุณหภูมิประมาณ 300?C   ดังนั้นมันจึงต้องมี Heater ช่วยเร่งให้ร้อนเร็วขึ้นด้วย  และยากนักที่จะเชื่อว่าในตัว Sensor นี้ไม่มีรูหายใจให้อากาศภายนอกเข้าไปเลย แต่มันก็ยอมให้อากาศจากภายนอกซึมผ่านเข้าไปในช่องว่างระหว่างฉนวนกับตัวนำไฟฟ้าของสายไฟได้   ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงจากสิ่งสกปรกและน้ำที่จะเข้าไปอุดตันปิดรูหายใจของมัน  ฉะนั้นจึงควรดูแลขั้วต่อไฟฟ้า(Connector)  ของ Oxygen Sensorให้สะอาดไม่มีสิ่งสกปรกอันอาจทำให้เกิดการอุดตันขึ้น
     Oxygen Sensor ที่นำมาใช้ในรถยนต์ Peugeot 406 EA9 เป็นแบบ Zirconia sensor 4-Wire คือมีสายไฟ 4 เส้น
สีดำ = Signal ,สีเทา = Ground ,สีขาว 2 เส้น = Heater

ภาพตัดของ Oxygen Sensor
ภาพตัดโครงสร้างของ Oxygen Sensor แบบ Zirconia

 ดูเพิ่มเติมภาคขยายได้ที่ http://www.peugeot4you.com/index.php?/topic/33485-peugeot-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-depollution-fault/


* 06-2-O-Sensor.jpg (44.62 KB, 500x237 - ดู 5690 ครั้ง.)

* 06-1 O-Sensor -Section.gif (34.16 KB, 430x300 - ดู 5521 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
best 406
สิงห์ปริญญาโท
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 360



« ตอบ #9 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2008 เวลา 08:32:18 »


เยี่ยมเลยครับ แต่รถผมเป็น D8  ข้อมูลคงจะแตกต่างจาก D9 คุณzuzarz มีข้อมูลของ D8 ไหมครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

http://www.vlovepeugeot.com/forum/index.php?topic=26892.msg283916;/ทายาทสิงห์406-(ภาคต่อ)#new
toetoe
สิงห์มัธยม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 123



« ตอบ #10 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2008 เวลา 10:32:57 »


 :พระเจ้าจอร์ท:ความรู้ดีๆทั้งนั้น นับถือๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
theera
เซียนสิงห์
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,569


« ตอบ #11 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2008 เวลา 11:19:22 »


ข้อมูลดีมาก ๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
boyd_arch
สิงห์ประถม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 62


« ตอบ #12 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2008 เวลา 14:42:14 »


สุดยอดเลยครับพี่ ไอ้เราก็หาข้อมูลอยู่ตั้งนาน กระจ่างเลยเรา ฮ่า..ฮ่า..ฮ่า.. :เครียดดูดบุหรี่:
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ibara
สิงห์มืออาชีพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 505



« ตอบ #13 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2008 เวลา 16:54:15 »


เยี่ยมเลยครับ แต่รถผมเป็น D8  ข้อมูลคงจะแตกต่างจาก D9 คุณzuzarz มีข้อมูลของ D8 ไหมครับ

ขอล่อ เย๊ยยยย   ขอลอกการบ้านนะครับ


สุดยอด  เอาอีกนะครับ แต่ขอเป็น d8


ปล.รถที่บ้านทั้ง 4 คัน เลยเหรอครับ.... โอ๊วๆๆๆ ยอดจริงๆๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
Start Cafe
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 416



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2008 เวลา 19:05:14 »


ขอบคุณที่ไม่หวงความรู้ เพื่อตอบแทนน้ำใจกัน มาเอาL5ไปอีกคัน  ฮ่าฮ่าฮ่า.......
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

คนเก่งมีมาก คนกล้ามีน้อย

รับซื้อขายรถยนต์ อะใหล่ ของแต่ง เปอโยต์-ซีตรอง  Start Cafe' http://start-peugeot.com/

zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #15 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2008 เวลา 17:50:12 »


     ตามคำขอของชาว PG 406  D8  ครับ จากการค้นหาจาก  คู่มือ Haynes และ Part catalog พอสรุปเป็นตารางได้ดังนี้                                               
             ระบบ                     PG406  D8                PG406 EA9
             PCV                          มี                                  มี
             EGR                        ไม่มี                                มี
             Evaporative                  มี                               มี
             Air Injection              ไม่มี                            มี
             Catalytic Converter      มี                                 มี
             Oxygen Sensor            มี                                  มี
     โดยแต่ละระบบจะมีหลักการเดียวกัน แต่ค่า Parameter ต่างๆที่ Program ไว้ใน ECU อาจแตกต่างกันได้
อย่างไรก็ตาม ระบบ PCV ใช้วิธีการแตกต่างกันตามรายละเอียดข้างล่าง

     ส่วนฝูงสิงห์นั้นเป็นของผม 3 ,คันหน้าขวาของน้องชายครับ  ได้มาด้วยราคายุติ(ที่คุณ)ธรรม...555
ชาว PG406 D8 ช่วยดูหน่อยครับว่ามีระบบเหล่านี้จริงหรือไม่ ?   เอาละครับถือว่าผมจะโมเมเล่าสู่กันฟังละกัน
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #16 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2008 เวลา 17:58:40 »


1. 1    Positive Crankcase Ventilation (PCV) System / ระบบระบายความดันในห้องเพลาข้อเหวี่ยง 
         วัตถุประสงค์ของระบบนี้คือการนำเอาไอของก๊าซพิษออกจากห้องเพลาข้อเหวี่ยง โดยการดูดกลับเข้าไปในท่อร่วมไอดีแล้วพาเข้าสู่ห้องเผาไหม้ต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ไอก๊าซพิษออกสู่บรรยากาศ และช่วยดึงไอน้ำออกจากระบบช่วยยืดอายุ  Oil ได้ด้วย
        Peugeot 406 D8 ใช้ระบบ Closed PCV แบบ Variable-Flow Control Valve (วาล์วแปรผัน ซึ่งเป็น  Regulator ชนิดหนึ่ง)  โดยระบบนี้จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบ Fixed Orifice โดยใช้วาล์วช่วยในการปรับ(Regulate) ให้อัตราการไหลของไอก๊าซเข้าสู่ห้องเผาไหม้ให้มีความสัมพันธ์กันระหว่าง แรงดันก๊าซ(ภายในห้องเพลาข้อเหวี่ยง)กับแรงดูด(ในท่อร่วมไอดี)    พฤติกรรมพื้นฐานของเครื่องยนต์คือในขณะที่มีความเร็วรอบต่ำ แรงดูดในท่อรวมไอดีจะมีมาก (ลิ้นปิกผีเสื้อปิด-เปิดน้อย) และไอก๊าซในห้องเพลาข้อเหวี่ยงจะมีแรงดันต่ำ(ก๊าซที่ถูกอัดอยู่ในห้องเผาไหม้ได้เล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบได้น้อย)  ในทางกลับกับขณะที่มีความเร็วรอบสูงแรงดูดในท่อรวมไอดีจะต่ำ(ลิ้นปิกผีเสื้อเปิดมาก-เปิดกว้างสุด)  แต่ไอก๊าซในห้องเพลาข้อเหวี่ยงจะมีแรงดันสูง(ก๊าซที่ถูกอัดอยู่ในห้องเผาไหม้ได้เล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบได้มากขึ้น)     ซึ่งจะเห็นว่ามีอัตราส่วนผกผันกันอยู่คือ แรงดูดมากแต่แรงดันก๊าซกลับน้อย
        Variable-Flow Control Valve  ทำงานอย่างไร ?   Valve นี้ประกอบด้วย สลักเดือยมีปลายข้างหนึ่งเรียวเล็กลง
เคลื่อนทีไปตามแรงดูดและแรงดันก๊าซ โดยมีสปริงคอยออกแรงต้านการเคลื่อนที่ของสลักไว้(จะหยุดเมื่อแรงดูด+แรงดันก๊าซเท่ากับแรงต้านจากสปริง)  การเคลื่อนทีของสลักนี้จะทำให้พื้นที่คอคอดเปลี่ยนไป(พื้นที่มากก๊าซก็จะผ่านได้มาก)อันเป็นการปรับ(Regulate) อัตราการไหลของไอก๊าซนั่นเอง   ดูภาพประกอบจะช่วยทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น     เมื่อออกจาก Valve แล้วก๊าซก็จะเดินทางต่อไปที่ทางเข้า   ก่อนและหลัง  ชุดลิ้นปีกผีเสื้อ เข้าท่อร่วมไอดีอย่างสมดุลและสัมพันธ์กับแรงดูดของสูญญากาศในท่อร่วมไอดี
       และระบบนี้จะมีท่อช่วยระบายความดันระว่างห้องเพลาข้อเหวี่ยงกับห้องเพลาลูกเบี้ยวด้วย (ไม่แน่ใจว่าในชุดท่อนี้มี ตะแกรงกรองน้ำมันหรือ Check Valve  ด้วยหรือไม่)
         ด้วยระบบนี้เป็นระบบปิด ภายในห้องเพลาข้อเหวี่ยงและห้องเพลาลูกเบี้ยวจึงไม่มีรูหายใจ(Vent) ออกสู่บรรยากาศ และที่ฝาเติม Oil ก็จะมี Seal ปิดแน่นด้วยเช่นเดียวกัน
        การดูแลรักษา ควรตรวจสอบ ท่อระบายไอน้ำมัน/Valve ไม่ให้มีสิ่งใดกีดขวางหรืออุตันทางเดิน มิเช่นนั้นความดันไอในระบบจะสูงขึ้นและดันออกทาง O- ring/Seal/Gasket ทำให้เกิดการเสียหายขึ้น   และถ้ามีการรั่วของระบบนี้  เช่น ท่อระบายไอน้ำมันแตกหัก, Seal  ที่ฝาเติมOil ไม่แน่นสนิท, ก้านวัดระดับน้ำมันไม่ปิดสนิท เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้รอบเดินเบาสูงหรือไม่นิ่งได้

ภาพตัด ชิ้นส่วนประกอบและหลักการของระบบ PCV นี้


* D8-PCV-2.jpg (78.45 KB, 750x639 - ดู 6412 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
zuzarz
สิงห์ปริญญาเอก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 442



« ตอบ #17 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2008 เวลา 17:59:57 »


ภาพประกอบชิ้นส่วน


* D8-PCV.jpg (60.02 KB, 550x474 - ดู 5547 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ibara
สิงห์มืออาชีพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 505



« ตอบ #18 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2008 เวลา 19:54:14 »


 :เครียดดูดบุหรี่:

มึน....




ตึ๊บ.
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
tore1983
ถึงรถจะเก่าแต่คนขับไม่แก่5555
สิงห์ปริญญาตรี
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 279



« ตอบ #19 เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2008 เวลา 20:01:09 »


เยี่ยมมากครับพี่
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
supreme
สิงห์ตัวจริง
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 839



« ตอบ #20 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 29 กันยายน 2008 เวลา 14:00:14 »


ขอบคุณที่เอื้อเฟื้อครับ    :มอบดอกไม้:
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

รู้จักหา รู้จักเก็บ รู้จักใช้ รู้จักพอ รู้จักให้ รู้จักวาง
DIM-do it myself
สิงห์มัธยม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 156



« ตอบ #21 เมื่อ: วันจันทร์ที่ 29 กันยายน 2008 เวลา 14:35:08 »


หลังจากอ่านบทความนี้ จึงนึกได้ว่า ตั้งแต่ซื้อ EA9 ตั้งแต่ปีใหม่ ไม่เคยได้ยินเสียงของ Air Injection ซักครั้ง เมื่อวันเสาร์เลยลองเช็คดู
ปรากฏว่า ฟิวส์ F29 30 A ขาด เลยลองเปลี่ยนดู พอสตาร์ท ปุ๊บ ขาดทันที

จากนั้นเลยเอาแม่แรงมายกรถ ถอดล้อหน้าซ้าย และพลาสติกบังโคลนออก เพื่อดูสภาพของ ของพัดลม (ไม่ได้ถ่ายรูปไว้เลย) ถอดแยกออกเป็นชิ้น ๆ เจอคราบเหนียวสีดำ คล้ายยางมะตอย ที่ใบพัดลม ทำให้ใบพัดลมติดขัด  จึงจัดการทำความสะอาดด้วย น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 + แปรงสีฟัน 1 ด้าม  พอเสร็จประกอบกลับเข้าไป เอาสายไฟจี้ที่ขั้ว Relay 30 Amp สีเขียว(กล่องฟิวส์ ในห้องเครื่อง) ได้ยินเสียงวี๊ด (สบายใจแล้ว) ไปซื้อ Fuse มาเปลี่ยน เสร็จแล้วรอให้เครื่องเย็นสนิท ตอนเย็นลองสตาร์ท อีกทีได้ยินเสียงพัดลมทำงานเป็นปกติ ประมาณ 1 นาทีแล้วก้อตัดไป fuse ยังปกติอยู่

Secondary Air Injection จะทำงานเฉพาะเครื่องเย็นเท่านั้นผมเลยต้องใช้สายไฟมาจี้ที่ขั้ว Relay เพื่อทดสอบ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
amtep
สิงห์มัธยม
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 120



« ตอบ #22 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม 2008 เวลา 17:33:47 »


เยี่ยมมากครับ ได้ความรู้มากเลย นับถือๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ninemakham
สิงห์ประถม
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #23 เมื่อ: วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2011 เวลา 15:07:38 »


ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันกับสมาชิกครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.20 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF | Sitemap Valid XHTML 1.0! Valid CSS!