ผมขอแสดงความคิดเห็นแบบสมเหตุสมผลเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในรถยนต์(ไม่ว่ายี่ห้อใดๆ) ดังนี้ครับ
* ไดชาร์ทยิ่งค่าแอมป์มากเท่าใด เป็นปฎิภาคโดยตรงกับ
- ถ้าแบตเตอรี่ใหม่มากๆ(เก็บไฟได้100%) จะตัดเร็วเท่านั้น (ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้อุปกรณ์ที่กินไฟมากๆในรถของท่านตอนที่ขับอยู่) ก็จะไม่เปลืองแรงเครื่องยนต์และประสิทธิภาพด้านการชดเชยกระแสไฟจากการใช้งานสมบูรณ์ที่สุด) มีผลกับการใช้เชื้อเพลิงมากตามแรงของเครื่องยนต์
- ไดรชาร์ทค่าแอมป์ยิ่งมาก เมื่อทำงานตามหน้าที่ของมันครั้งใด จะกินแรงเครื่องยนต์มากกว่าแอมป์น้อยอย่างแน่นอน นั่นคือ เครื่องยนต์ต้องรับภารกรรมมากขึ้น เมื่อออกแรงมาก ก็กินเชื้อเพลิงมาก เป็นสัจธรรมธรรมดาของแรงกล
- แบตเตอรี่ยิ่งเก่า(หลัง1ปีกว่าของการใช้งานครั้งแรก) ประสิทธิภาพการเก็บประจุไฟ(ตามเวลาหลังชาร์ทเต็ม) ก็จะด้อยลง อย่าหวังพึ่งพาคุณสมบัติของการเก็บไฟของแบตเตอร์รี่เก่า คุณจะรู้เองถ้าอาการที่เกี่ยวกับการใช้งานกระแสไฟฟ้าจากแบตฯ ของคุณเปลี่ยนไป และไดร์ทชาร์ทต้องทำงานมากขึ้นจากการต้องชดเชยข้างต้น
- ส่วนใหญ่ของการพึ่งพาไดร์ทชาร์ทใหญ่ขึ้นกว่ามาตรฐานเดิมเนื่องจาก วัยรุ่นขาโจ๋ชอบดัดแปลงเพิ่มเติมอุปกรณ์ในรถที่ต้องใช้กระแสไฟในคราวเดียวกันมากขึ้นกว่าเดิม เช่นเครื่องเสียงพลังมหาศาล เปิดแอร์ตั้งความเย็นไว้ใกล้เคียงอุณหภูมิขั้วโลกตลอดเวลาในขณะที่รถติด ที่ต้องพึ่งพารอบเ ดินเบาเสียเป็นส่วนใหญ่
ขนาดความจุของแบตเตอรี่ยิ่งมากก็เหมือนนำตุ่มใหญ่ที่ต้องใช้เวลาตักนานกว่า(ชาร์ทนาน)กว่าจะเต็ม ใครรู้ช่วยบอกด้วยว่าค่าเฉลี่ยของการชาร์ทในขณะขับรถจนแบตฯเต็มควรเป็นเท่าไร
- แบตฯ ส่วนมากมีอายุใช้งานที่ 2 - 3 ปี จดจำการใช้งานของมันไว้ด้วยวิธีการใดๆของท่านเผื่ออนาคตของปัญหาที่จะเกิดจากมัน
- ถ้ามีกะตังเพียงพอ ก็ไม่ต้องคิดมาก 2 ปีเปลี่ยนแบตฯไปเลย ห้ามเสียดาย ถ้ามีเหตุวิกฤตสักครั้งหนึ่งก็ถือว่าคุ้ม
- แบตเตอรี่ก็มีหัวใจ หมั่นตรวจสอบนำกลั่นโดยสมำเสมอ ถ้ากินนำกลั่นมาก แสดงว่าใกล้สิ้นอายุแล้ว
- ผมเคยมีประสบการณ์ขับรถทางไกลแบบว่า แบตฯเก่าแล้วไม่เป็นไรน่า ยิ่งดี ขับทางไกลยิ่งชาร์ทดี ปรากฏว่าคัทเอาท์ หรือตัวตัดไฟจากไดร์ทชาร์ทตอมชาร์ทเต็มแล้ว มันไหม้ เพราะแทบไม่มีการตัดไฟเลย เพราะต้องชาร์ทตลอด ต้องจอดพักจนกว่าจะเย็นแล้วไปใหม่ เหม็นทีนึงก็ต้องจอด จงจำไว้อย่าคิดแบบผม
หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้าง ถ้าผิดหลักเทคนิคประการใด ผู้รู้ช่วยแย้งด้วย